ข้อมูลหลักสูตร
- ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ภาษาอังกฤษ: Master of Science Programme in Information Technology
แผนการศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหลักสูตร 2 ปี (4 ภาคการศึกษา) หลักสูตรรวม 36 หน่วยกิต สามารถเลือกเรียนสายวิชาการ หรือวิชาชีพ ตัวอย่างแผนการศึกษามีดังนี้
- วิชาบังคับ 21 หน่วยกิต
- วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
- วิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วย
- วิชาบังคับ 19 หน่วยกิต
- วิชาเลือก 8 หน่วยกิต
- วิชาสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 3 หน่วยกิต
- โครงการศึกษาเฉพาะเรื่อง 6 หน่วยกิต
- วิชาบังคับ 19 หน่วยกิต
- วิชาเลือก 8 หน่วยกิต
- วิชาสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 6 หน่วยกิต
- โครงการศึกษาเฉพาะเรื่อง 3 หน่วยกิต
ผู้เรียนแผน 1 แบบวิชาการ มุ่งศึกษาเชิงลึกทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และทำวิทยานิพนธ์ จำนวน 12 หน่วยกิต มีทางเลือก 1 ทางเลือก ผู้เรียนแผน 2 แบบวิชาชีพ มีทางเลือก 2 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 ศึกษาเทคโนโลยีที่หลากหลาย และทำการศึกษาโครงการเฉพาะเรื่อง จำนวน 6 หน่วยกิต ศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และทางเลือกที่ 2 ศึกษาสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และทำการศึกษาโครงการเฉพาะเรื่อง จำนวน 3 หน่วยกิต
วิชาบังคับ
- Enterprise Computing Platform Design
- Design and Analysis of Algorithms
- Basic AI Application Development
- Standards, Laws and Compliances for IT Professionals
- Database Management
- Data Governance
- Systems Analysis and UX/UI Design
- Network and Cybersecurity
- Research Methodology (สำหรับแผนวิชาการ)
- Research Methodology for Practitioners (สำหรับแผนวิชาชีพ)
วิชาเลือก
- Decision Support
- Business Financial Analysis
- Information Technology Project Management
- Strategic Digital Transformation
- Information Technology Control and Audits
- Information Quality Management
- Seminar
- Data Mining
- Big Data Analytics
- Agile System Development
- Artificial Intelligence
- Multimedia Technology
- Mobile Technology
- Internet of Things and Application
- Introduction to Hypervisor and Mastering Virtualbox
- Basic Linux Administration
- Wireshark Packet Analysis
- Securing Digital Infrastructure
- Cybersecurity Risk Management
- Security Operation
- Threat Intelligence
- Data Visualization
- NoSQL Database
สัมมนาเชิงปฏิบัติการ
- Database Programming and Administration Workshop
- SMART Networking and Intelligent Infrastructure Workshop
- UX/UI Workshop
- Artificial Intelligence for Business Workshop
- Data Science on Cloud Workshop
- Java Programming Workshop
- Cloud Computing Workshop
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
สอบข้อเขียนโดยข้อเขียนประกอบด้วย
- ความรู้ทั่วไปทางคอมพิวเตอร์
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- English Study for IT
Essay เชิงสัมภาษณ์ (กรณีสอบออนไลน์)
โอกาสในการประกอบอาชีพ
อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มสายอาชีพ ได้แก่
- กลุ่มผู้บริหารสูงสุดที่บริหารสายงานเทคโนโลยี สายงานด้านการบริหารข้อมูล หรือกลุ่มนักบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมไปถึง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ และหรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้จัดการโครงการคอมพิวเตอร์ และหรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้ตรวจสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งกลุ่มสายอาชีพนี้มีเส้นทางการเรียนรู้ดังแสดงในรูปที่ 2.2 ตามเส้นทางหลักสีเหลือง ที่ประกอบด้วย การบริหารจัดการตามหลักธรรมภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศ มาตรฐาน ข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ การบริหารจัดการโครงการ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินระบบสารสนเทศ กลยุทธ์ในการการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัล และกลยุทธ์การสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล โดยมีองค์ความรู้และทักษะที่สนับสนุนในเรื่องของการวิเคราะห์ระบบตามความต้องการเชิงธรุกิจ การบริหารจัดการข้อมูล การออกแบบแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการทำงานในระดับองค์กร และพื้นฐานการออกแบบและใช้งานโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่าย
- กลุ่มนักบริหารจัดการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับโครงสร้างเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ รวมไปถึง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ และหรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย และผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับเส้นทางการเรียนรู้ของสายอาชีพนี้ ได้ออกแบบตามเส้นทางการเรียนรู้ดังแสดงในรูปที่ 2.2 ตามเส้นทางหลักสีฟ้า โดยพื้นฐานที่สำคัญคือความรู้และทักษะในเรื่องการออกแบบแพลตฟอร์มสำหรับองค์กร และการออกแบบและใช้งานโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่าย พร้อมด้วยความรู้และทักษะสนับสนุนในเรื่องของการบริหารจัดการตามหลักธรรมภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศ มาตรฐาน ข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ และการบริหารจัดการโครงการ ก่อนที่จะไปสู่การพัฒนาทักษะเฉพาะทางด้านความเชี่ยวชาญการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับโครงสร้างเครือข่ายและข้อมูลที่ประกอบด้วยการรักษาความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล การบริหารความเสี่ยงและการดำเนินการด้านความปลอดภัย รวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภัยคุกคาม
- กลุ่มผู้จัดการหรือผู้นำการออกแบบพัฒนาระบบและแอปพลิเคชัน หรือนักออกแบบพัฒนาระบบและแอปพลิเคชัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ และหรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ และฐานข้อมูล นักพัฒนาระบบอัจฉริยะ และนักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ โดยมีเส้นทางการเรียนรู้ดังแสดงในรูปที่ 2.2 ตามเส้นทางหลักสีชมพู ที่ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะทางด้านการวิเคราะห์ระบบตามความต้องการเชิงธรุกิจ การบริหารจัดการข้อมูลตามหลักธรรมาภิบาลรวมไปถึงการบริหารจัดการตามหลักธรรมภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศ มาตรฐาน ข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ การออกแบบและแสดงผลฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ หรือแบบอื่น การพัฒนาแอปพลิเคชันผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบอไจล์
อัตราค่าบำรุงการศึกษาและค่าธรรมเนียม
- ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 16,000 บาท
- ค่าลงทะเบียน หน่วยกิตละ 2,500 บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาอื่น ๆ ปรับเปลี่ยนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
นักบริการการศึกษา

Aphorn Chiawchankaset
หัวหน้านักบริการการศึกษาทุกหลักสูตร และ
นักบริการการศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
aphorn@sit.kmutt.ac.th
0-2470-9862