Back

เกณฑ์การรับสมัคร ระดับปริญญาตรี รอบ Active Recruitment

เกณฑ์การรับสมัคร
หลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล
GPAX ผลการเรียนเฉลี่ย 2.75 3.00 2.50
GPA คณิตศาสตร์<br>เกรดเฉลี่ยขั้นต่ำ/หน่วยกิตขั้นต่ำ เกรดเฉลี่ย 2.75<br>10 หน่วยกิต เกรดเฉลี่ย 3.00<br>12 หน่วยกิต เกรดเฉลี่ย 2.75<br>5 หน่วยกิต
GPA วิทยาศาสตร์<br>เกรดเฉลี่ยขั้นต่ำ/หน่วยกิตขั้นต่ำ เกรดเฉลี่ย ไม่กำหนด<br>5 หน่วยกิต เกรดเฉลี่ย ไม่กำหนด<br>20 หน่วยกิต เกรดเฉลี่ย ไม่กำหนด<br>หน่วยกิต ไม่กำหนด
GPA ภาษาต่างประเทศ<br>เกรดเฉลี่ยขั้นต่ำ/หน่วยกิตขั้นต่ำ เกรดเฉลี่ย 2.75<br>หน่วยกิต ไม่กำหนด เกรดเฉลี่ย 3.00<br>หน่วยกิต ไม่กำหนด เกรดเฉลี่ย 2.50<br>6 หน่วยกิต

ข้อมูลการรับสมัคร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
Bachelor of Science in Information Technology (IT) หลักสูตรฉบับปรับปรุงปี 2567

เงื่อนไขพิเศษหรือคุณสมบัติเฉพาะอื่น ๆ

  • ในกรณีที่ยังไม่ได้รับผลการเรียนภาคการศึกษาที่ 5 ในระหว่างการสมัคร ให้นำส่งผลการเรียนภาคการศึกษาที่ 5 ภายในวันสัมภาษณ์
  • ใช้ผลสอบ TGAT/TPAT3 ประกอบการพิจารณา (หากมี)
  • ต้องมีแฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) ที่สนับสนุนการเข้าเรียนในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถส่งพร้อมคลิปแนะนำและอธิบายผลงานตนเอง
  • เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือความผิดปกติใดๆ ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในหลักสูตร โดยคณะกรรมการสัมภาษณ์ ตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด
  • สอบสัมภาษณ์โดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ผู้สมัครต้องเตรียมการนำเสนอผลงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศในระหว่างการสัมภาษณ์

    คุณลักษณะบัณฑิตของหลักสูตร

           หลักสูตรมุ่งพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคุณลักษณะที่จำเป็น และเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทันที ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

    จุดเด่นของหลักสูตร

    • Job Ready with T-Shaped Skills หลักสูตรมุ่งเน้นพัฒนาบัณฑิตที่มีความพร้อมในการทำงานในภาคอุตสาหกรรม สามารถเริ่มทำงานที่ใช้เทคโนโลยี/เครื่องมือที่ทันสมัยได้ทันที มีพื้นฐานทางเทคนิคที่เข้มแข็ง มีสมรรถนะทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก (T-Shaped Skills) ที่จำเป็นในการทำงานเป็นทีมแบบข้ามสายงาน (Cross-Functional Team)
    • Multiple Learning Pathways หลักสูตรมีเส้นทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเลือกเส้นทางการเรียนสู่สายอาชีพที่ตนเองสนใจและเป็นที่ต้องการของผู้ใช้แรงงาน โดยมีวิชาพื้นฐานในแต่ละสายอาชีพให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้/ทักษะ เพื่อให้ผู้เรียนรู้สมรรถนะของตนเองในแต่ละด้านก่อนพิจารณาเลือกเส้นทางการเรียนสู่สายอาชีพ โดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้มากกว่า 1 เส้นทางการเรียนรู้และสามารถเปลี่ยนเส้นทางการเรียนรู้ของตนเองได้ในภายหลัง
    • Outcome Based Education หลักสูตรเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พัฒนาจากการลงมือทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาโครงงานบูรณาการ รายวิชาโครงงานรวบยอด และรายวิชาการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงาน (ฝึกงาน) ที่เป็นรายวิชาบังคับ รายวิชาในหลักสูตรเป็นลักษณะโมดูล มีขนาด 1, 2, หรือ 3 หน่วยกิต ผู้เรียนพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป มีการร้อยเรียงรายวิชาที่สอดคล้องกัน
    • Hands-on หลักสูตรเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ โดยในหมวดวิชาพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 16 รายวิชาจาก 33 รายวิชาที่มีชั่วโมงปฏิบัติ ในหมวดวิชาเชิงลึกทางเทคโนโลยีสารสนเทศแบบบังคับเลือก มี 22 รายวิชาจาก 24 รายวิชาที่มีชั่วโมงปฏิบัติ
    • Customer and Stakeholders Focus หลักสูตรเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น หลักสูตรกำหนดให้ผู้เรียนฝึกงานในภาคการศึกษาสุดท้าย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำงานต่อได้ทันที หรือการให้ผู้เรียนมีทางเลือกในเส้นทางการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น

    เส้นทางการเรียนรู้สู่สายอาชีพ (สายอาชีพหลัก)

          หลักสูตรมี 9 แผนการเรียนตามเส้นทางการเรียนรู้สู่สายอาชีพ ที่ผู้เรียนเลือกภายหลังจากเรียนรายวิชาพื้นฐานครบ 3 ภาคการศึกษา โดยผู้เรียนต้องเลือกอย่างน้อย 1 เส้นทางการเรียนรู้ แต่สามารถเลือกเรียนรายวิชาในเส้นทางการเรียนรู้อื่นร่วมด้วยได้ เช่น สาย Frontend Developer คู่กับสาย UX/UI Designer, สายฺ Backend Developer คู่กับ Database Administrator โดยมีแผนการเรียนทั้งหมด ดังนี้

    1. นักพัฒนาฟรอนเอนด์ (Frontend Developer) — 4 รายวิชา 12 หน่วยกิต
    2. นักพัฒนาแบ็กเอนด์ (Backend Developer) — 4 รายวิชา 12 หน่วยกิต
    3. นักพัฒนาฟูลสแตก (Full-Stack Developer) — 6 รายวิชา 18 หน่วยกิต
    4. นักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI Developer) — 7 รายวิชา 18 หน่วยกิต
    5. นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist) — 7 รายวิชา 16 หน่วยกิต
    6. นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) — 6 รายวิชา 14 หน่วยกิต
    7. วิศวกรข้อมูล (Data Engineer) — 8 รายวิชา 11 หน่วยกิต
    8. ผู้ดูแลฐานข้อมูล (Database Administrator) — 6 รายวิชา 7 หน่วยกิต
    9. นักออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้และส่วนต่อประสาน (UX/UI Designer) — 3 รายวิชา 9 หน่วยกิต

    สายอาชีพรองที่บัณฑิตสามารถทำงานได้*

    1. นักวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analyst)
    2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
    3. ผู้ประสานงานโครงการ (Project Coordinator)
    4. นักทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Tester)
    5. โปรแกรมเมอร์ (Software Programmer)
    6. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
    7. นักเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Officer)
    8. ผู้สนับสนุนไอที (IT Support Officer, IT Help Desk)

    _______________________

    * อาจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    Bachelor of Science in Computer Science (CS) (English Program)

              CS@SIT หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘คอมซายอินเตอร์ บางมด’ จัดการเรียนการสอน Computer Science เป็นภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร มุ่งเน้นผลิตบัณฑิต CS ที่สามารถทำงานในตลาดงานโลกได้อย่างมีสมรรถภาพ มีชุดความคิดเชิงนวัตกรรมที่พร้อมใช้ เน้นเรื่องทำความเข้าใจทฤษฎีทาง Computer Science การพัฒนาซอฟต์แวร์ ระบบฐานข้อมูล ระบบเครือข่าย รวมถึงผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่ที่มีคุณภาพ รวมถึงคิดค้นและสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน มุ่งเน้นในการเป็นนักวิชาชีพด้าน Computer Science ที่ดี มีความรู้ ความสามารถและทำงานร่วมกับผู้อื่นในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนักศึกษาทุกคนต้องฝึกงานวิชาชีพภาคฤดูร้ อนอย่างน้อย 300 ชั่วโมง เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้จริง มีความรับผิดชอบและเป็นแบบอย่างที่ดี สร้างสรรค์งานด้าน Computer Science ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไป

    โอกาสในการประกอบอาชีพ/Career Opportunities

    • นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Engineer / Developer)
    • โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
    • นักพัฒนาระบบ (System Engineer / Developer)
    • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
    • ผู้บริหารเครือข่าย (Network Administrator)
    • ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator)
    • ผู้จัดการโครงการ (Project Manager)

    หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล
    Bachelor of Arts in Digital Service Innovation (DSI)

           ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทุกสิ่งอย่างอยู่บนโลกของดิจิทัล แล้วธุรกิจจะต้องทำอะไร? เพื่อจะปรับตัวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ที่หลักสูตร Digital Service Innovation เราสร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้าน Digital Transformation ที่สามารถสื่อสารกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจกระบวนการทางธุรกิจ เข้าใจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งฝั่งธุรกิจและฝั่งเทคโนโลยี และสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อแก้ไขปัญหาในกระบวนการทางธุรกิจ (Digital Service Innovation) ได้อย่างลงตัว มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทันที ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

    เงื่อนไขพิเศษหรือคุณสมบัติเฉพาะอื่นๆ

  • สอบสัมภาษณ์โดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานและกิจกรรม (Portfolio) ของตัวเองที่สนับสนุนการเข้าเรียนในสาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล เช่น ความสามารถทางด้าน IT/ดิจิทัล และ/หรือ บุคลิกภาพและการสื่อสารโดดเด่น
  • กรณีผู้สมัครส่งคลิปแนะนำตนเอง และอธิบายผลงาน หรือ ความสามารถของตนเอง ความยาวคลิปไม่เกิน 2 นาที จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
  • เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง ไม่มีภาวะตาบอดสี หรือความผิดปกติใดๆ ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในหลักสูตร

    ความแตกต่างระหว่างหลักสูตรDSIและหลักสูตร IT/CS

    • DSI ให้ความสำคัญกับหลักการเข้าใจความคิด, ความรู้สึก และพฤติกรรมของมนุษย์ จึงมีการบรรจุวิชาด้านจิตวิทยาเข้ามาเสริมสร้างความเข้าใจ
    • DSI เน้นเติมเต็มความรู้ด้านมนุษยศาสตร์ และการบริหารธุรกิจ
    • DSI มีการสอนเนื้อหาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ไม่เรียนเนื้อหาเชิงลึกมากเท่าเนื้อหาการเขียนโปรแกรมที่เรียนในหลักสูตร IT/CS เพราะหลักสูตรไม่ได้มีเป้าหมายผลิตบัณฑิตเพื่อไปเป็นนักเขียนโปรแกรม
    • DSI เน้นการจัดการสอนแบบเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experience Learning) โดยนักศึกษาในหลักสูตรต้องไปเรียนรู้ และฝึกประสบการณ์กับภาคอุตสาหกรรมตามระยะเวลาที่กำหนด

    การออกแบบหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการของตลาด

           หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมบริการดิจิทัล ออกแบบมาเพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีเข้าใจในมุมมองของผู้ใช้งานอย่างแท้จริง รู้หลักการบริหารธุรกิจ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถออกแบบบริการใหม่ ๆ หรือปรับเปลี่ยนธุรกิจเดิม ๆ ให้เป็นที่น่าจับตามองโดยเน้นผลักดันให้ธุรกิจดังกล่าวอยู่ในรูปแบบ Digital โดยนักศึกษาต้องมีความสามารถในการสื่อสาร เพื่ออธิบายหลักการและโน้มน้าวให้ผู้ใช้เห็นข้อดีและยอมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว 

    โอกาสในการประกอบอาชีพ/Career Opportunities

  • นักออกแบบนวัตกรรมบริการ (Innovation Service Designer)
  • นักออกแบบเว็บ/โมบายแอปพลิเคชัน (Web /Mobile Application Designer)
  • นักพัฒนาโปรแกรมส่วนปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ (Front-end Developer)
  • นักวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analyst)
  • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
  • ผู้ประสานงานโครงการ (Project Coordinator)
  • นักวางแผนการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Planner)
  • นักพัฒนาด้านมัลติมีเดีย (Multimedia Developer)
  • นักออกแบบประสบการณ์/ส่วนติดต่อผู้ใช้ (UX/UI Designer)
  • นักยุทธศาสตร์โซเชียลมีเดีย (Social Media Strategist)
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรดิจิทัล (Digital Resources Specialist)
  • เจ้าของธุรกิจดิจิทัล (Digital Startup)
  • นักวิชาชีพ/นักวิชาการที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงและสร้างผลกระทบเชิงบวกในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กรหรือสถานประกอบการ (Digital Transformation Change Agent)
  • รองรับอาชีพใหม่ที่จะเกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนวัตกรรมการออกแบบบริการดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
  • รายละเอียดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล <--อ่านเพิ่มเติม-->